ตรวจเช็คปัญหา แอร์รถยนต์ด้วยมานิโฟลด์เกจ

แอร์ไม่เย็นมีได้หลายสาหตุ แต่บางครั้งเวลาเมื่อแอร์ไม่เย็น เจ้าของรถเข้ามาซ่อมส่วนมาจะคิดว่าให้เติมน้ำยาแอร์ แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากระบบแอร์มีการรั่วซึมก็สามารถ เติมเพิ่มเพื่อให้ใช้งานไปก่อนได้ แต่ถ้ามาจากสาเหตุอื่นก็ต้องแก้ไขตามอาการที่เสียถึงจะเย็น

โดยส่วนมากเมื่อรถเข้ามารับบริการ เพื่อให้วิเคราะห์สาเหตุได้แม่นยำมากขึ้น เราจะใช้เกจวัดน้ำยาแอร์(Manifold gauge) เพื่อช่วยในการตรวจสอบและวิเคราะห์ ให้เจอสาเหตุได้แม่นยำยิ่งขึ้น

การอ่านค่าเกจวัดแรงดันเพื่อวิเคราะห์ จะแก้ไขสำหรับอาการ มีลมออกแต่แอร์ไม่เย็น หรือ ความเย็นน้อยที่เรียกกันส่วนใหญ่ว่าเย็นไม่ฉ่ำ และมักจะวิเคราะห์ได้ผลตอนที่เกิดปัญหาแอร์ไม่เย็น
 ในกรณีบางคันอุปกรณ์เริ่มเสื่อม ทำงานบ้างไม่ทำบ้าง ตอนมาถึงแอร์เย็นปกติ ค่าเกจก็จะปกติ แต่ต้องรอให้เกิดอาการก่อนถึงจะวิเคราะห์ได้แม่นยำ

ขั้นตอนทั่วไปในการติดตั้งเกจ เพื่ออ่านค่าแรงดัน
1. ปิดวาล์วที่เกจ และต่อเกจเข้ากับระบบ

2. ไล่ลมที่สายเกจออก

3. อุณหภูมิบรรยากาศภายนอกอยู่ประมาณ30-35องศาเซลเซียส

4.ปรับ สวิตซ์พัดลมแอร์ และ สวิตซ์ความเย็นแอร์ ให้อยู่ตำแหน่งสูงสุด เพื่อให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานอย่างต่อเนื่องในขณะวัดค่าแรงดันน้ำยาแอร์

ค่าความดันที่ถือว่าระบบปกติ ที่เราจะตั้งไว้เป็นเกณท์ โดยทั่วไปจะอยู่ที่
ค่าความดันต่ำ 30-40 PSI

ค่าความดันสูง 200-250 PSI

กรณีที่1 แรงดันน้ำยา ต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งด้านแรงดันต่ำ และด้านแรงดันสูง

จุดสังเกตการวิเคราะห์การแก้ไข
แอร์ไม่เย็น ตาแมวมีฟองอากาศเกิดการรั่วในระบบ เช่น
ท่อแอร์
ข้อต่อต่างๆๆ
ตู้แอร์
คอมแอร์
ตรวจสอบหาจุดรั่ว แก้ไขจุดรั่ว เติมน้ำยาแอร์

กรณีที่2 แรงดันสูงกว่าเกณฑ์ ทั้งด้านแรงดันต่ำ และด้านแรงดันสูง

จุดสังเกตการวิเคราะห์การแก้ไข
แอร์ไม่เย็น ตาแมวมีฟองอากาศ ทดสอบราดน้ำที่แผงระบายความร้อนร้อน ฟองอากาศลดลง แรงดันลดลงระบบระบายความร้อนมีปัญหา
พัดลมระบายความร้อนไม่หมุน
น้ำหม้อน้ำแห้ง
แผงระบายความร้อนอุดตัน
แก้ไขระบบระบายความร้อน
แก้ไขพัดลมเสีย หรือชุดสั่งงานพัดลม
แก้ไขจุดรั่วระบบน้ำหล่อเย็น
ล้างแผงระยายความร้อนแอร์
สอบถามข้อมมูลพึ่งเติมน้ำยาแอร์มาเติมน้ำยาเกินปล่อยน้ำยาออก(เคยเจอบางครั้ง)

กรณีที่3 แรงดันปกติ แต่แอร์ไม่เย็น

จุดสังเกตการวิเคราะห์การแก้ไข
ตามปกติแรงดันตามเกณท์น่าจะเย็นปกติ  แต่แอร์ไม่เย็น ตาแมวมีฟองเกิดจากกรณีที่1 น้ำยารั่วซึมแต่กว่าจะมาถึงร้านนาน ทำให้อุณหภูมิระบบสูงขึ้นทั้ง จนบางครั้งอุณภูมิถึงตามเกณท์ทำให้อ่านค่าได้ปกติดับเครื่องรอจนความร้อนสะสมลดลงหรือใช้น้ำราดที่แผงระบายความร้อนรอจนน้ำแห้ง แล้วแก้ไขจุดรั่ว เติมน้ำยาแอร์เพิ่ม
หลังจากแก้ไขต้องตรวจสอบระบบเพิ่ม ในบางครั้งอาจจะเกิดกรณีที่2 ระบายความร้อนไม่พอร่วมด้วย
ทดสอบอุณหภูมิที่ ท่อน้ำยา ตำแหน่งหลังแผงร้อน หรือหลังดรายเออร์ มีอุณหภูมิต่ำ หรือมีน้ำเกาะ (ขึ้นอยู่กับจุดวัดของหัวบริการด้วย)เกิดการตันที่แผงระบายความร้อน หรือ ดรายเออร์ ทำให้เกิดการลดแรงดัน ก่อนถึง Expansion Valve ทำให้ความเย็นสูญเสียนอกตู้แอร์ เปลี่ยนดรายเออร์ Expansion Valve ตรวจสอบความสะอาดในระบบ

กรณีที่4 แรงดันด้านต่ำสุงกว่าเกณฑ์ แรงดันด้านสูงปกติหรือต่ำกว่าเกณท์

จุดสังเกตการวิเคราะห์การแก้ไข
แอร์ไม่เย็นไม่ฉ่ำ สู้แดดไม่ไหวกำลังอัดคอมน้อยเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์หรือใช้งานไปก่อน ในบางกรณีอาจจะช่วยโดยติดตั้งมอเตอร์พัดลมระบายแผงคอล์ยร้อนเพิ่มเพื่อชดเชยกรณีประสิทธิภาพคอมลดลง

อาจจะมีคราบน้ำแข็งเกาะที่ Expansion ValveExpansion วาล์วเปิดค้างเปลี่ยนดรายเออร์ Expansion Valve ตรวจสอบความสะอาดในระบบ

กรณีที่5 แรงดันด้านต่ำต่ำกว่าเกณฑ์ แรงดันด้านสูงปกติหรือสูงกวาเกณฑ์

จุดสังเกตการวิเคราะห์การแก้ไข
แอร์ไม่เย็น อาจมีคราบน้ำแข็งเกาะที่ Expansion Valve บางครั้งเกจดด้านแรงต่ำอาจจะสวิงหรือค่าติดลบExpansion Valve อุดตันเปลี่ยนดรายเออร์ Expansion Valve ตรวจสอบความสะอาดในระบบ

กรณีที่6 แรงดันด้านต่ำและด้านสูง เท่ากันหรือใที่ประมาณมากกว่า 100 PSI

จุดสังเกตการวิเคราะห์การแก้ไข
อาการนี้เกิดจากคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน เช็คไฟมาถึงหน้าคลัทช์หน้าคลัทช์เสียเปลี่ยนหน้าคลัทช์
อาการนี้เกิดจากคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน รุ่นControl Valve ด้านในคอมControl Valve วาล์วเสีย
หรือ คอมเพรสเซอร์เสีย
เปลี่ยน Control Valve เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์(บางรุ่นเปลี่ยนเฉพาะControl Valve สามารถใช้งานได้อีกไม่นาน)
ไม่มีไฟมาจ่ายที่คอมเพรสเซอร์-เกิดจากอุปกรณ์ตรวจจับเสีย -อุปกรณ์สั่งงานเสีย -ระบบตัดการทำงานจากสาเหตุอื่นเช่น จากกรณีที่2 ระบายความร้อนไม่ทันจนแรงดันสูงขึ้น>สวิตซ์แรงดันสั่งตัดไฟป้องกันท่อแตกหรือคอมเพรสเซอร์เสียจากการทำงานหนัก  ข้อนี้จุดเช็คจะมีหลายรายการ เช่น ฟิวส์ รีเลย์แอร์ รีเลยพัดลม เทอร์โมสตัด พัดลมระบายความร้อน สวิตซ์ความเย็นแอร์ สวิตซ์พัดลมแอร์ กล่องควบคุมแอร์(บางรุ่น) สวิตซ์แรงดัน สายไฟขาด ตู้แอร์ตัน  

ในกรณีที่6 คอมเพรสเซอร์ ไม่ทำงาน อาจจะมีปัญหาอื่นร่วมด้วย ต้องแก้ไขให้คอมเพรสเซอร์ทำงานก่อนถึงจะสามารถตรวจสอบแรงดันว่ามุดอื่นเสียด้วยหรือไม่ ที่พบบ่อยเช่น

-พบแรงดันน้ำยาต่ำกว่าเกณฑ์ ตามกรณีที่1

-พบระบบระบายความร้อน ตามกรณีที่2

-พบExpansion Valve อุดตันตามกรณีที่5