ความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์
พ.ย. 08, 2014
แบตเตอรี่รถยนต์
ไม่ใช่แหล่ง ผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เมื่อใดก็ตามที่ไดร์ชาร์จ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทัน เช่น การขับขี่ในตอนกลางคืนซึ่งใช้ระบบไฟเยอะกว่าปกติ ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ ขณะเดียวกันถ้าไดร์ชาร์จทำงานได้ดีขึ้น หรือ หมุนเร็วขึ้น ก็จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน ซึ่งก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง (แบตเตอรี่) จนกว่าจะเต็มแบตเตอรี่จะถูกจ่ายไฟออกอย่างเดียวก็เฉพาะตอนสตาร์ทเครื่อง ยนต์เท่านั้น เพื่อส่งกระแสไฟเข้าสู่มอเตอร์สตาร์ท และ ระบบต่างๆของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด และ ทำงานแล้ว ไดร์ชาร์จก็จะทำหน้าที่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง นั่นก็หมายความว่า กระแสไฟฟ้าจะถูกจ่ายออกไป และ ถูกประจุเพิ่มเข้าไป หมุนเวียนเข้าออกแบตเตอรี่อยู่เสมอ ไม่ได้จ่ายออกไปจนหมดอย่างเดียว
นั่น หมายความว่าแบตเตอรี่จะหมดได้ก็มีอยู่เพียง 2 กรณี นั่นก็คือ 1. เก็บไฟไม่อยู่ หรือ หมดอายุการใช้งาน 2. ไดร์ชาร์จทำงานผิดปกติ หรือ บกพร่อง ซึ่งทำให้ประจุไฟเข้าไปยังแบตเตอรี่รถยนต์ได้น้อยมากไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรือ ไม่สามารถประจุไฟเข้าไปได้เลย
อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์มีิอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ
1. แบบเปียก นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ต้องเติม และ ดูแลน้ำกลั่นบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กับ แบบไม่ต้องดูแลบ่อย (Maintenance Free) ซึ่งจะกินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น ในแบบแรกนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 1.5-2 ปี แต่ไม่ควรเกิน 3 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และ การดูแลรักษา ถ้ามีการดูแลรักษาอยู่สม่ำเสมอก็จะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์มี อายุการใช้งานที่ยาวนาน ขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อถึงอายุการใช้งานของมันก็สมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูก ใหม่ได้แล้ว
2. แบบแห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และ มีราคาแพง แบตเตอรี่แบบแห้งนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 5-10 ปี แบตเตอรี่แบบนี้ไม่มีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น หรือไม่ก็ถูกซีลทับฝาไปเลย แต่จะมีตาแมวไว้สำหรับไว้คอยตรวจเช็คระดับน้ำกรด และ ระดับไฟชาร์จ
การเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่นั้นถ้าหากว่าไม่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์อะไร เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ติดตั้งพวกระบบเครื่องเสียงต่างๆ หรือ ติดตั้งพวกอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้น เพราะจะเป็นการทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการคำนวณ และ เลือกขนาดของแบตเตอรี่รถยนต์ให้ เหมาะสมกับการใช้งานของรถรุ่นนั้นๆอยู่แล้ว แต่ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นมาก็สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก็คือ แบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นมักจะมีขนาดของตัวแบตเตอรี่ใหญ่ขึ้นด้วย ดังนั้นฐานของแบตเตอรี่เดิมติดรถสามารถรองรับได้หรือไม่
ไม่ควรที่จะ เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์โดยไปลดขนาดของแอมป์ลงโดยเด็ดขาด แต่สามารถเลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้โดยประมาณ 10-30 แอมป์
การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หรือการประจุไฟเข้าไปในแต่ละครั้งนั้น ควรจะเลือกใช้การชาร์จอย่างช้าเอาไว้ และทิ้งไว้ซักประมาณ 5-10 ชั่วโมง โดยเฉพาะในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ทั้งนี้ก็เพื่อให้แบตเตอรี่เสื่อม สภาพได้ช้าลง และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่ตามร้านที่เปลี่ยนแบตเตอรี่โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีชา ร์จเร็วเพื่อรีบให้บริการลูกค้าซึ่งจะข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่
เนื่องจากในแบตเตอรี่รถยนต์นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่
ข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่ เนื่องจากในแบตเตอรี่นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ให้ระมัดระวังพวกไฟ หรือประกายไฟต่างๆ รวมทั้งประกายไฟจากการสูบบุหรีด้วย
ให้ทำการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา
ระวังอย่าให้เด็กเข้าใกล้น้ำกรด และ แบตเตอรี่
การจัดวางและจัดเก็บแบตเตอรี่เก่า ควรจัดวางและเก็บในสถานที่ที่ปลอดภัย และ เป็นจุดที่จัดเก็บแบตเตอรี่โดยเฉพาะ ไม่วางทิ้งเกลื่อนกลาด
ไม่ควรทิ้งแบตเตอรี่เก่าลงในถังขยะปกติธรรมดาทั่วไป
ให้ระมัดระวังอันตรายจากแบตเตอรี่ระเบิด ในขณะที่ทำการชาร์จแบตเตอรี่นั้นจะมีแก็สเกิดขึ้น ซึ่งแก็สนั้นเป็นสารที่ทำให้เกิดการระเบิดได้อย่างสูง
ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนตัวแบตเตอรี่ ปฏิบัติตามคู่มืองานซ่อมประจำอู่เรื่องระบบไฟฟ้า และ ปฏิบัติตามคู่มือประจำรถ
ให้ระวังอันตรายจากน้ำกรดเวลาเดือด น้ำกรดในแบตเตอรี่นั้นเป็นสารกัดกร่อนอย่างรุนแรง ดังนั้นควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา และ ถุงมือขณะที่ทำงานในกรณีนี้อยู่ รวมทั้งระวังอย่าเอียง หรือ ตะแคงแบตเตอรี่เป็นอันขาด เพราะน้ำกรดสามารถรั่วไหลออกมาทางรูระบายได้
เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์กันเมื่อใด (เผื่อเวลาไว้ ก่อนมีปัญหา)
ใช้งานมานานกว่า 1.5 – 2 ปี
ไฟหน้าไม่สว่างเหมือนเช่นเคย
กระจกไฟฟ้าทำงานไม่เหมือนเดิม (ช้าลง)
ในตอนเช้า เครื่องยนต์สตาร์ท ติดยาก (รอบของเครื่องยนต์ไม่พอเพียง)
ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยครั้ง (ตรวจ Checked Alternator for Voltage)
อาการของแบตเตอรี่รถยนต์และแนวทางการป้องกัน
ไฟอ่อนหรือไฟหมด (วัดถพ.น้ำกรดทุกช่องต่ำกว่า1.250 / วัดไฟ ไม่ถึง 12 โวลท์)ห้ามเปลี่ยนถ่ายน้ำกรด เปิดไฟทิ้งไว้นาน อัดไฟ ด้วยกระแส 5-10 แอมป์ จนเกิดฟองก๊าซ อย่างเพียงพอ (วัด ถพ.น้ำกรดได้ 1.250 ทุกช่อง / วัดไฟ เต็ม 12 โวลท์)
ตรวจดู และ ปิดสวิทช์ไฟ ทุกครั้งหลังดับเครื่อง
ไม่ได้ใช้แบตเตอรี่นาน ติดเครื่องยนต์อย่างน้อย อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง
ไฟรั่วลงดิน ตรวจระบบไฟฟ้า และสายไฟ ตรวจระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ ทุกๆ 6 เดือน
ไดนาโม ไดชาร์ทรถยนต์ชำรุด หรือไม่ทำงาน ซ่อมไดนาโม ไดชาร์ทรถยนต์ พร้อมกับอัดไฟ แบตเตอรี่
ขั้วต่อแบตเตอรี่ไม่แน่น หรือชำรุด ถอด ทำความสะอาด ด้วยน้ำร้อน ทาวาสลีน หรือเปลี่ยนขั้วใหม่ ดูแลแบตเตอรี่ ให้สะอาดเสมอ
กำลังไฟแบตเตอรี่ ไม่พอเพียง อัดไฟ ด้วยกระแส 5-10 แอมป์ จนเกิดฟองอากาศ อย่างเพียงพอ ลดอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า ในรถยนต์ลง หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ ที่มีกำลังไฟมากขึ้น ตามกำลังเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้ง
อัดไฟไม่เต็ม อัดไฟใหม่ ตรวจดูฟองก๊าซในระหว่างอัดไฟ (ถพ. 1.250, วัดไฟ 12 โวลท์) แบตเตอรี่เสื่อม เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ ที่มีกำลังมากขึ้น (สำหรับทำหน้าที่หลายอย่าง)
เมื่อมีการเพิ่มปริมาณไฟฟ้าส่องสว่างและติดเครื่องเสียงเพิ่มขึ้น
ใช้รถเฉพาะกลางคืนและเปิดไฟส่องสว่างเป็นเวลานานๆๆ
เปิดแอร์เป็นเวลานานๆ
ใช้รถทั้งกลางวัน-กลางคืน
ใช้เครื่องมือสื่อสาร
ใช้รถน้อย (จอดรถไว้เป็นเวลาหลายวัน) หรือใช้รถเฉพาะวันหยุด
ไดชาร์จ
อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อถูกหมุนด้วยเครื่องยนต์/ผลิตไฟฟ้าเมื่อถูกหมุนไดสตาร์ท
อุปกรณ์ไปรับกระแสไฟฟ้าเข้าไปเพื่อสตาร์ทหมุนเครื่องยนต์แล้ว ก็หมดหน้าที่/รับกระแสไฟฟ้า เพื่อหมุนตัวเองและเครื่องยนต์อายุการใช้งานแบตเตอรี่ 1.5-3 ปี
แบตเตอรี่ทั่วไปมีอายุการใช้งานประมาณ 1.5-3 ปี เท่านั้น โดยดูได้จากตัวเลขที่ตอกลง บนตัวแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าจะมีการตอกเอง โดยปกติ เมื่อเกิน 1.5-2 ปี ก็ถือว่า คุ้มค่าแล้วสำหรับแบตเตอรี่ทั่วไปที่ผลิตในประเทศและจำหน่ายในราคาลูกละ 1,000 กว่าบาทเมื่อเกินอายุ 2-2.5 ปี ถ้ากังวลให้ถือโอกาสเปลี่ยนก่อนก็ไม่สิ้นเปลืองมากนัก แบตเตอรี่-แอมป์สูง มักมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงควรคำนึงถึงขนาดของฐานที่จะวางลงไป เมื่อแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากถึงกับดัดแปลงฐานที่จะวาง หากไม่ต้องการแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงมากจริง ๆ เลือกขนาดเท่าที่พอจะวางได้ก็พอ
ขี้เกลือขั้วแบตเตอรี่
อาจมีการขึ้นขี้เกลือ ซึ่งช้ามาก และทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าด้อยลง การทำความสะอาดที่ดี ต้องถอดขั้วออกและทำความสะอาดทั้งขั้วบนแบตเตอรี่และขั้วบนสายไฟฟ้า พร้อมเคลือบด้วยจาระบีหรือน้ำมันเครื่อง
ถ้าไม่มีความรู้เชิงกลไก ใช้น้ำอุ่นราดผ่านก็เพียงพอในระดับหนึ่งตรวจน้ำกลั่นทุกสัปดาห์
ควรตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ทุกสัปดาห์ ควรเติมให้ได้ระดับ โดยถ้าแบตเตอรี่ มีผิวด้านข้างใส ก็ส่องดูได้ แต่ถ้าผิวทึบหรือเล็งด้านข้างไม่สะดวก เติมน้ำกลั่นให้ท่วม แถบแผ่นธาตุไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร อย่าใช้น้ำกรองหรือใช้น้ำที่ไม่ใช่น้ำกลั่นเติม แบตเตอรี่เพราะจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้น แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่แพง เสียยาก ดูแลง่าย แต่อย่ามองข้าม เพราะเป็นพลังไฟฟ้าสำรอง ในรถยนต์ทุกคันข้อสังเกตเมื่อแบตเตอรี่เสื่อม
1. เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก
2. ไฟหน้าไม่ค่อยสว่าง
3. ระบบกระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง
4. ระบบไฟฟ้าในรถทำงาเรามีบริการมากมายพร้อมบริการท่าน เช่น ช่วงล่าง เบรค ครัช ถ่ายน้ำมันเครื่อง แบตเตอรี่ และ เปลี่ยนของเหลวตามระยะ
มีเครื่องมือที่ทันสมัยไว้ให้บริการท่าน เช่น เครื่องเช็คแบตเตอรี่ เครื่องเช็คน้ำยาหม้อน้ำ เครื่องเช็คน้ำมันเบรค