เครื่องมือตรวจเช็ครถยนต์มาตรฐาน

เครื่องมือตรวจเช็ครถยนต์มาตรฐาน

 

 

 

p_1444545

  เครื่องทดสอบแบตเตอรี่

เครื่องทดสอบแบตเตอรี่- ใช้ทดสอบแบตเตอร์รี่ 12 Volt DC
– ทดสอบได้แบตแห้งและแบบเติมน้ำกลั่น
– สามารถทดสอบค่า SAE(CCA) ขณะสตาร์ทได้

    วิธีสังเกตุแบตเตอรี่เสื่อม

  • เมื่อมีอาการต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยๆ (สำหรับแบตเตอรี่ธรรมดา)

  • ไฟหน้าไม่สว่าง

  • ตอนเช้าสตาร์ทรถติดยาก (เสียงเครื่องหมุนช้า)

  • กระจกไฟฟ้าเริ่มทำงานช้าลง ระบบไฟฟ้าอื่นๆในรถทำงานช้าลง

  • เมื่อแบตเตอรี่ใช้งานมานานกว่า 1.5 – 2 ปี

  • ไดสตาร์ทไม่สามารถทำงานได้

  • แผ่นธาตุภายในเกิดอาการบวม

  • น้ำกรดภายในลดลง (แห้ง) ต่ำกว่าแผ่นธาต

     การดูแลรักษาแบตเตอรี่

  • ทำความสะอาดสายไฟ ทั้งบวกลบ และแบตเตอรี่ด้วยน้ำอุ่น และเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ

  • ตรวจเช็คทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ และทาด้วยวาสลิน เพื่อป้องกับคราบขี้เกลือ

  • ตรวจเช็คน้ำกลั่นสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยให้น้ำแห้ง

  • ไม่เติมน้ำกลั่นให้เกินกว่าขีดสูงสุด และต่ำกว่าขีดต่ำสุด

  • ตรวจวัดระดับกระแสไฟแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ

  • ตรวจเช็คไดร์ชาร์จ เมื่อระบบไฟอ่อน

  • ตรวจสอบความมั่นคงของการติดตั้ง

  • ห้ามเติมน้ำกรด และน้ำกลั่นที่มีสีหรือสารเคมีโดยเด็ดขาด

  • ห้ามสูบบุหรี่ ขณะตรวจเช็คน้ำในแบตเตอรี่ เพราะอาจจะระเบิดได้

  • ตาแมวของแบตเตอรี่แห้งใช้ดูกำลังไฟโดย

  • (สีน้ำเงิน=ไฟดีอยู่ /สีส้มแดง=แบตเตอรี่มีปัญหาจะต้องชาร์ตไฟหรือเติมน้ำกลั่น / สีขาว=แบตเตอรี่เสียหรือเสื่อมคุณภาพ ต้องเปลี่ยนลูกใหม่)

WH509

 

 เครื่องตรวจเช็คน้ำมันเบรค

 

น้ำมันเบรค คืออะไร

 น้ำมันเบรค คือของเหลวที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังโดยของเหลว หรือเรียก ว่าเป็นตัวไฮดรอลิกก็ได้

ซึ่งเมื่อเราเหยียบเบรคที่แป้นเบรค แรงดันที่เหยียบจะถูกถ่ายทอดผ่านของเหลว (น้ำมันเบรค) ในระบบไปห้ามล้อทั้ง 4 ล้อ

ซึ่งจะทำให้ความเร็วของรถช้าลง หรือหยุดตามแรงกดที่ต้องการ

 

การตรวจสอบผ้าเบรค

 ผ้าเบรคเป็นส่วนที่สึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น เพราะมีการเสียสีทั้งจานเบรค และฝุ่นต่างๆ ควรถอดเช็คเป็นประจำ

สังเกตเปรียบเทียบกับผ้าเบรคของใหม่แกะกล่อง จะมีความหนาเป็น 100 % ผ้าเบรคที่ใช้แล้วความหนาจะลดลงเรื่อยๆ

ในจุดที่ต่ำกว่า 40 – 30 % นั้น ถือว่าไม่ปลอดภัย เพราะผ้าเบรคในช่วงที่เหลือน้อย การสึกหรอจะรวดเร็วกว่าหลายเท่าตัว จนถึงระดับบางมาก

เนื้อผ้าเบรคอาจหลุดร่อนได้อย่างกะทันหัน เป็นผลให้แผ่นเหล็กสีกับจานเบรคจนเสียหาย เสียเงินเพิ่ม

หรือถ้าผ้าเบรคหลุดออกจากฝักเบรค ลูกสูบปั้มเบรค และน้ำมันเบรคจะหลุดออก ที่เรียกกันว่าเบรคแตกนั้นเอง

 

handrefrakto_01

 เครื่องตรวจเช็คคุณภาพน้ำยาหม้อน้ำ

 

 

การบำรุงรักษาหม้อน้ำ (ระบบหล่อเย็น)

หม้อ น้ำถือว่าเป็นตัวจักรสำคัญอีกตัวหนึ่งของรถยนต์  เพราะหม้อน้ำจะช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเครื่องยนต์ให้สามารถทำงานได้

อย่างต่อเนื่อง  เครื่องยนต์ไม่ร้อนจัดจนเกิดการน็อค  การระบายความร้อนของรถยนต์โดยทั่วไปจะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน

ทำให้ต้องมีการเช็คระดับน้ำอยู่เสมอว่าลดลงไปมากหรือเปล่า  ถ้าลดลงมากจนแห้งอาจจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงหรือโอเวอร์ฮีท  และความเสียหายก็จะตามมาได้
ในหน้าปัดรถของเรานั้นจะมีสัญญาณเตือนหรือ เป็นเข็มบอก โดยจะใช้สัญลักษณ์เป็นตัว c ย่อมาจาก cool คือเย็น และ H ย่อมาจาก HOT คือร้อน

ปกติแล้วถ้าระดับน้ำถูกต้องเข็มวัดความร้อนจะอยู่ในระดับปานกลางระหว่าง C กับ H แต่ถ้าขาดการดูแลจนระดับน้ำแห้งความร้อนจะมีมากขึ้นจนเข็มชี้ไปที่ H นั้น

แปลว่ารถเกิดความร้อนมากต้องรีบจอดรถและหาน้ำมาเติม (การเติมน้ำจะต้องรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน)

ที่สำคัญห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องร้อนจัดเพราะอาจจะได้รับอันตราย จากไอน้ำที่พุ่งออกมาได้

 

 

image_25394

 เครื่องวิเคราะห์เครื่องยนต์

 

เครื่องวิเคราะห์เครื่องยนต์ หรือ โอบีดี คืออะไร
OBD มาจากคำว่า On-Board Diagnostic เป็นมาตรฐานที่กำหนดขี้นร่วมกันโดย SAE และ ISO โดยกำหนดมาตรฐานวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางดิจิตอลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์

ที่ติดตั้งบนรถยนต์ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยไอเสีย (Emission) กับเครื่องสแกนข้อมูล ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ตำแหน่งการติดตั้ง

รหัสบันทึกความบกพร่องที่ตรวจพบ (Malfunction Indicator Light : MIL) แล้วแสดงออกมาให้คนขับหรือช่างได้รู้ถึงปัญหานั้น
โดยมีผลบังคับใช้สำหรับรถยนต์ที่จำหน่ายในอเมริกาตั้งแต่รุ่นปี 1996 เป็นต้นมา ข้อมูลที่อ่านจากระบบจะบอกให้ทราบถึงสถานะของส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง

กับควบคุมเครื่องยนต์เกือบทั้งหมด รวมทั้งระบบมี ECU ต่อร่วมกันหลายตัวในรถยนต์คันเดียวกันเป็นเน็ตเวิร์ค เช่น บอดี้คอนโทรล แชสซิสคอนโทรล ด้วย

ในปี 1988 The California Air Resources Board (CARB) ได้กำหนดความต้องการไว้ว่า รถยนต์ทุกคันต้องมีระบบที่สามารถแยกแยะปัญหาการขัดข้องที่เกี่ยวข้องกับการ

ปล่อยไอเสีย(emission system) และระบบควบคุมเครื่องยนต์(powertrain system) ซึ่งเรียกว่าระบบ OBD-I
ในขณะเดียวกัน CARB ยังได้กำหนดมาตรฐาน OBD-II ขึ้นมาและให้มีผลบังคับใช้กับรถยนต์ทุกคันในอเมริกา ตั้งแต่ปี 1996

เพื่อจะได้เป็นแนวทางใหม่ให้กับช่างในการแก้ปัญหาการซ่อมเครื่องยนต์และระบบ ควบคุมการปล่อยไอเสีย

ปัจจุบันรถเกือบ ทั่วโลกเป็นรถที่มี OBD ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 1997 แล้ว และถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นมาเรื่อย ๆ จาก OBD I เป็น OBD II

ส่วนใหญ่รถในบ้านเราที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็น OBD II และถือว่าเป็นกฎหมายที่บังคับใช้เกือบทั่วโลก

ยกเว้นในบางประเทศที่ยังไม่มีกฎหมายควบคุม ยกตัวอย่างเช่น ประเทศ Africa หรือ Afghanistan เป็นต้น

 

 

35031

 

 เครื่องวัดกำลังอัดกระบอกสูบ

 

เครื่องทดสอบกำลังอัดกระบอกสูบจะทำให้ทราบว่ากระบอกสูบใดบ้างมีกำลัง อัดลดลง

ใช้บอกสภาพเครื่องยนต์ว่ายังสมบูรณ์ดีอยู่หรือหลวมไปแล้ว โดยการวัดค่าความดัน แล้วนำไป เปรียบเทียบค่า ความดัน ที่ระบุไว้ ในคู่มือ รถรุ่นนั้น

ถ้าความดัน ที่วัดได้ ยังใกล้เคียง กับค่าที่กำหนดไว้ ในคู่มือ ก็ถือว่าใช้ได้ และยังใช้ วัดความผิดปกติ ของเครื่องยนต์ ในแต่ละสูบ

เช่นร่องแหวน ลูกสูบแตก วาล์วรั่ว วาล์วยัน สาเหตุเหล่านี้ ก็ทำให้ความดัน ที่วัดได้ต่ำกว่า สูบอื่นที่ปกติ

 

อะไรคือกำลังอัดของเครื่องยนต์  ทำงานอย่างไร?

 กำลังอัด คือ กระบวนการ ซึ่งอากาศ หรือ อากาศที่ผสมกับเชื้อเพลิง จะบีบอัดให้เล็กลงภายในกระบอกสูบเครื่องยนต์

กระบวนการนี้จะบีบอัดโมเลกุลทั้งหมดไว้ด้วยกันภายใต้ความดันสูง ในกรณีของเครื่องยนต์เบนซิน รถรุ่นใหม่ๆต้องการค่ากำลังอัดที่ 140-160 psi

ในเครื่องยนต์บางรุ่นต้องการถึง 220 psi ขึ้นอยู่กับขนาด และความต้องการ (ผู้ผลิตรถยนต์เป็นผู้ที่กำหนดค่ากำลังอัดที่ต้องการ)

ถ้ากำลังอัดในเครื่องยนต์เบนซินสูงเกินไปจะเกิดปัญหาที่เรียกว่า “Pre-ignition” ซึ่งมันจะทำให้เกิดความเสียหายภายในชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ อย่างไรก็ตาม

เครื่องยนต์ดีเซลต้องการกำลังอัดที่สุงกว่ามาก ทั่วไปประมาณ 350 psi หรือมากกว่านั้น เพราะว่าการเผาไหม้น้ำมันดีเซลขึ้นกับกำลังอัดของเครื่องยนต์

เครื่องยนต์ดีเซลนั้นจะหนักกว่าและเสียงดังกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ เครื่องยนต์เบนซิน ขั้นตอนการอัดอากา

ในกระบอกสูบซึ่งอากาศและเชื้อเพลิงที่ผสมกันและแหล่งจุดกำเนิด (Ignition source) ล้วนเป็นแหล่งผลิตกำลังที่สำคัญต่อการทำให้เครื่องยนต์ทุกชนิดทำงานได้ดี